ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะไม่มีเงินใช้จ่ายหรือที่เรียกว่าการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาตร์ของประเทศ
การผิดนัดชำระหนี้จะส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันหลายสิบล้านคนที่จะไม่ได้รับเงินเดือนหรือเงินสวัสดิการจากรัฐ รวมถึงจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างหนักด้วย ล่าสุดทำเนียบขาวออกมายืนยันว่า ประธานาธิบดีไบเดนกำลังทำทุกทางเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ในขณะที่ ส.ส.ของพรรคเดโมแครตกับ ส.สคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. พรรครีพับลิกันตอบโต้กล่าวโทษกันไปมาว่าอีกฝ่ายคือปัญหาที่จะพาเศรษฐกิจสหรัฐฯ ตกเหว
สหรัฐอนุมัติแล้ว โอนทรัพย์สินที่ริบจากรัสเซียให้ยูเครนใช้ฟื้นฟูประเทศ
สหรัฐ "อาจผิดนัดชำระหนี้" เดือนหน้าหากสภาคองเกรสยังนิ่ง
คารีน ฌอง ปิแอร์ โฆษกทำเนียบขาวแถลงเมื่อคืนที่ผ่านมาว่า ถึงแม้การพูดคุยระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดนกับ เควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาจะไม่ได้ข้อสรุป แต่ประธานาธาธิบดีไบเดนจะไม่ใช้วิธีอื่นในการแก้ปัญหา โดยจะหารือกับสภาต่อไปจนกว่าจะได้ข้อตกลง โดยจะไม่ปล่อยให้เงินสดสำรองของกระทรวงการคลังหมด ซึ่งจะนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้อย่างแน่นอน
การให้สัมภาษณ์มีขึ้นหลังจากก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่า ประธานาธิบดีไบเดนอาจใช้วิธีผ่าทางตันเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ด้วยการใช้ข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขที่ 14 เพื่อให้กระทรวงการคลังมีอำนาจเพิ่มเพดานหนี้ได้เป็นการชั่วคราว โดยในการแถลงข่าว โฆษกทำเนียบขาวระบุว่า ผู้นำสหรัฐฯ จะไม่ใช้ทางนี้เนื่องจากวิธีนี้เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น
ขณะที่ เควิน แมคคาร์ธี ประธานสภาผู้แทนราษฎรก็ออกมาให้สัมภาษณ์ในทำนองเดียวกันว่า ทางสภากำลังพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้รัฐบาลและสภาสามารถหาทางออกในการแก้ปัญหาร่วมกันได้
การให้สัมภาษณ์เช่นนี้เกิดขึ้นหลังจากเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ไม่สามารถโน้มน้าวให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบให้อนุมัติการเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะจำนวน 31.4 ล้านล้านดอลลาร์ได้ ทำไมต้องเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะ
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกคือประมาณหนึ่งพันล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 120 ของจีดีพีหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ เกิดจากการกู้ยืมเงินและการออกพันธบัตรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำเงินมาใช้ในโครงการพัฒนาต่างๆ โดยความสามารถในกู้เงินได้เยอะเนื่องจากคนมีความเชื่อมั่นว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะจ่ายหนี้คืนได้ อย่างไรก็ตาม หนี้ที่สะสมขณะนี้มีมากกว่าเพดานที่กำหนดไว้ จนรัฐบาลต้องขอให้ทางสภาขยายเพดานหนี้เพื่อที่จะได้กู้เงินมากขึ้น
ละหากสภาไม่เห็นชอบให้มีการขยายเพดานหนี้ ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ เงินสดสำรองของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ จะหมดลง และมีผลทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่มีเงินใช้จ่ายสำหรับโครงการต่างๆ รวมถึงการจ่ายหนี้ได้ โดยเรียกสถานการณ์นี้รวมๆ ว่า การผิดนัดชำระหนี้
ซึ่งหากเกิดสถานการณ์ดังกล่าวเพียงแค่สัปดาห์เดียว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะรุนแรงมากยกตัวอย่างเช่น
วันที่ 1 มิถุนายน โครงการเมดิแคร์หรือโครงการประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุจะไม่ได้งบจำนวน 47,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐหรือประมาณ 1.4 แสนล้านล้านบาท และทหารจะไม่ได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล
วันที่ 2 มิถุนายน หากสภายังไม่เพิ่มเพดานหนี้ให้ ผู้ที่เกษียนอายุและผู้ได้รับประโยชน์จากประกันสังคมจะไม่สามารถเข้าถึงผลประโยชน์ได้มูลค่า 25,000 ล้านดอลล่าร์หรือประมาณ 7 แสน 5 หมื่นล้านบาทได้
วันที่ 6 มิถุนายน บริษัทที่ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ จะไม่ได้รับเงินค้างชำระจำนวน 2,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐหรือประมาณ 6 หมื่นล้านบาทจากรัฐบาล
วันที่ 7 มิถุนายน ชาวอเมริกันที่รอรับคืนเงินภาษีจะไม่ได้รับเงิน
วันที่ 8 มิถุนายน สถาบันการศึกษาในทุกระดับจะไม่ได้งบประมาณตามแผนจำนวน 1,000 ล้านบาทหรือประมาณ 30,000 ล้านบาท รัฐบาลจะค้างชำระหนี้ประกันสุขภาพมากขึ้นและระบบสาธารณสุขจะเริ่มปั่นป่วน
และหากสภายังไม่เพิ่มเพดานหนี้อีก ผลกระทบก็จะลุกลามไปทั่วโลก เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ จะไม่สามารถชำระดอกเบี้ยให้กับนักลงทุนได้ รวมถึงนักลงทุนที่ถือพันธบัตรของรัฐบาล ความเชื่อมั่นต่อพันธบัตรสหรัฐฯจะลดลง และจะทำให้ตลาดเงิน ตลาดทุนทั่วโลกปั่นป่วน
จะเห็นได้ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะรุนแรงมาก และหลายคนเริ่มไม่มั่นใจว่า รัฐบาลและสภาจะสามารถหาข้อยุติเรื่องนี้ได้ อะไรคือสิ่งที่ทำให้ 2 ฝ่ายเห็นต่างกันอยู่
สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายเห็นต่างคือ เรื่องการบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินทางฝั่งสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ใช้จ่ายเกินตัว จนทำให้เงินสดหมดคลัง วิธีแก้ปัญหาก็คือ รัฐบาลต้องลดการใช้จ่ายเงินลง
ขณะที่ฝั่งประธานาธิบดีไบเดนเห็นต่าง โดยเขาระบุว่า เขายอมลดการใช้จ่ายเงินลงได้ แต่นั่นก็ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาถ้าไม่มีการจัดเก็บรายได้เพิ่ม โดยที่ผ่านมา พรรคเดโมแครตได้สนับสนุนการเก็บภาษีจากคนรวยเพิ่ม แต่พรรครีพับลิกันคัดค้านมาโดยตลอด ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายได้พยายามหารือพูดคุยเพื่อหาทางออกหลายครั้ง
ครั้งล่าสุดคือเมื่อคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา เมื่อประธานาธิบดีโจ ไบเดนต้องตัดกำหนดการเยือนออสเตรเลียออกและรีบกลับมาสหรัฐฯ หลังการประชุม G7 ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อมาหารือกับประธานสภาผู้แทนราษฎร เควิน แมคคาร์ธี แต่ผลการหารือก็ยังไม่สามารถคลี่คลายปมขัดแย้งและความเห็นที่ต่างกันได้
ล่าสุดเมื่อคืนที่ผ่านมา ก็เกิดวิวาทะระหว่าง ส.ส. จากพรรคเดโมแครตและ ส.ส. จากพรรครีพับลิกัน ที่ต่างกล่าวโทษกันไปมาว่าใครคือปัญหาที่ทำให้เกิดทางตันเช่นนี้ สตีฟ สกาลีซ ผู้นำเสียงข้างมากจากพรรครีพับลิกัน เปิดแถลงข่าวประกาศว่า ทางพรรคได้ทำงานเรื่องนี้มาหลายเดือนเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์การผิดนัดชำระหนี้ แต่คนที่มีปัญหาในเรื่องนี้คือประธานาธิบดีโจ ไบเดนที่พยายามนำประเด็นใหม่ๆ อย่างการขึ้นภาษีเข้ามาเกี่ยวและทำให้การหารือเรื่องนี้ต้องล่าช้าออกไป ส.ส. รีพับลิกันรายนี้ประกาศด้วยว่า ทางพรรคจะไม่มีทางเห็นชอบกับการขึ้นภาษีอย่างแน่นอน
หลังจากนั้น ทางพรรคเดโมแครตก็เปิดแถลงตอบโต้ โดยปีเตอร์ อากีลาร์ ส.ส. ของพรรคประกาศว่า พรรคจะไม่มีการเช็นอะไรใดๆ ทั้งสิ้นที่จะนำไปสู่การตัดลดงบประมาณของครู งบอาหารหรืองบโครงการประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สหรัฐฯ ต้องเผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้ นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 สหรัฐเฯ คยเกือบผิดนัดชำระหนี้และสภาคองเกรสต้องมีการขยายกรอบเพดานหนี้มาเแล้วถึง 78 ครั้ง โดยการขยายกรอบเพดานหนี้ครั้งสุดท้ายคือ เมื่อปี 2021 หรือ 2 ปีที่แล้ว