ในสัปดาห์นี้กำลังจะมีหนึ่งในเหตุการณ์ใหญ่ระดับโลกประจำปีเกิดขึ้น นั่นคือ “การประชุมยูเอ็น” หรือการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ซึ่งปีนี้จัดเป็นครั้งที่ 78 แล้ว จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 18-22 กันยายนนี้ ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ
ที่ต้องจับตาคือ การเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมยูเอ็นครั้งนี้ของนายกคนใหม่ของประเทศไทย นายเศรษฐา ทวีสิน ว่าจะแสดงวิสัยทัศน์ใดต่อที่ประชุม และจะเรียกความเชื่อมั่นจากนานาชาติมาสู่ประเทศไทยได้หรือไม่
“พีระพันธุ์” โพสต์แจ้งข่าว ไทยชนะคดี “โฮปเวลล์”
เปิดเอกสารเช่าเหมาลำ 30 ล้าน! "เศรษฐา" พร้อมคณะ บินประชุมยูเอ็น
“เศรษฐา” แจง ไม่มีนักธุรกิจนั่งเครื่องบินเช่าเหมาลำ บินประชุมสหรัฐฯ
การประชุมยูเอ็น ในช่วงของการอภิปราย เป็นการเปิดพื้นที่ให้เหล่าผู้นำโลกและประมุขแห่งรัฐในการเสนอแผนการพัฒนาประเทศของตนในปีนี้ กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในประเด็นเร่งด่วน หรือเรียกร้องในประเด็นต่าง ๆ
อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า “มันเป็นช่วงเวลาสำหรับผู้นำจากทั่วทุกมุมโลก ที่ไม่เพียงแต่จะออกมาประเมินสถานการณ์ของโลก แต่ยังดำเนินการเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และการลงมือทำคือสิ่งที่โลกต้องการในตอนนี้”
สำหรับการอภิปรายทั่วไปในปีนี้จัดขึ้นภายใต้ธีม “การสร้างความไว้วางใจและการจุดประกายความสามัคคีระดับโลกอีกครั้ง: การเร่งดำเนินการในวาระปี 2030 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง ความก้าวหน้า และความยั่งยืนสำหรับทุกคน”
คาดว่า วิกฤตสภาพภูมิอากาศ และสงครามในยูเครน จะเป็นประเด็นหลักที่ถูกพูดถึงในที่ประชุมสหประชาชาติสัปดาห์นี้
ประเด็นสำคัญในปีที่แล้ว ได้แก่ ความพยายามในการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การรุกรานยูเครนของรัสเซีย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้งหมดนี้คาดว่าจะถูกพูดถึงอีกครั้งในการประชุมปีนี้
นอกจากนี้ ความกังวลเกี่ยวกับจีน ความมั่นคงทางทะเลในแปซิฟิก การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน และสิทธิมนุษยชน ก็มีแนวโน้มที่จะถูกพูดถึงเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้สังเกตการณ์บางคนตั้งคำถามถึงอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของจีน
ขณะที่การรัฐประหารเมื่อเร็ว ๆ นี้ในแอฟริกา โดยเฉพาะในไนเจอร์ อาจได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ในซูดานและเอธิโอเปีย ในขณะเดียวกัน วิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมที่กำลังดำเนินอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ เช่น อัฟกานิสถาน และละตินอเมริกา
ในขณะเดียวกัน การประชุมยูเอ็นครั้งนี้เกิดขึ้น 2 เดือนก่อนจะมีการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ COP28 ที่ดูไบ ทำให้เชื่อว่าเรื่องของวิกฤตสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม จะต้องถูกพูดถึงอย่างแน่นอน
กูเตอร์เรสกล่าวว่า “คำอุทธรณ์ของผมต่อผู้นำโลกคือ นี่ไม่ใช่เวลาสำหรับการรักษาสถานะหรือตำแหน่ง นี่ไม่ใช่เวลาสำหรับการเฉยเมยหรือไม่แน่ใจ นี่คือเวลาที่เราต้องรวมตัวกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ใช้งานได้จริง”
โดยทั่วไปแล้ว ประธานการประชุมสมัชชาสหประชาชาติจะเป็นผู้กล่าวแถลงเป็นคนแรก ซึ่งปีนี้คือ เดนนิส ฟรานซิส จากตรินิแดดและโตเบโก
จากนั้น บราซิลจะเป็นประเทศแรกที่ได้กล่าวอภิปราย โดยคาดว่า ประธานาธิบดีลูอีซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา จะกล่าวถึงวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นหลัก เพราะที่ผ่านมา เขาได้ให้คำมั่นที่จะสร้างบราซิลขึ้นมาใหม่ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าฝนแอมะซอนที่ถูกทำลายล้างมาหลายปี
จากนั้น สหรัฐฯ ในฐานะประเทศเจ้าภาพ จะกล่าวอภิปรายต่อจากบราซิล โดยประธานาธิบดี โจ ไบเดน เตรียมกล่าวปราศรัยเพื่อพยายามยืนยันบทบาทของสหรัฐฯ ในฐานะผู้นำระดับโลก
จากนั้น ลำดับของผู้พูดจะพิจารณาจากระดับการเป็นตัวแทน ความสมดุลทางภูมิศาสตร์ ลำดับการบันทึกคำขอ และการพิจารณาอื่น ๆ
ลินดา โธมัส-กรีนฟิลด์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ ประเมินว่า จะมีผู้นำประเทศประมาณ 150 คนเข้าร่วมการประชุมยูเอ็นครั้งนี้ รวมถึง ประธานาธิบดียูเครน โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี และนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู
อย่างไรก็ตาม ไบเดนจะเป็นผู้นำระดับสูงเพียงคนเดียวใน 5 ประเทศถาวรของยูเอ็นและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่จะเข้าร่วม ส่วน จีน รัสเซีย ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร นั้น ส่วนใหญ่จะส่งตัวแทนมา
ริชี ซูนัก จะเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนแรกในรอบกว่าทศวรรษที่งดเข้าร่วมการประชุมยูเอ็น โดยอ้างว่า ตารางงานที่ยุ่งของเขาทำให้เขาไม่สามารถไปนิวยอร์กได้ ส่วนประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ก็จะไม่มาเข้าร่วมเช่นกัน เนื่องจากตารางงานไม่สะดวก
ยังไม่ชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่จีนคนใดจะเข้าร่วมการประชุมยูเอ็นครั้งนี้ แต่มีรายงานว่า จีนวางแผนที่จะส่งรองประธานาธิบดี หาน เจิ้ง มาแทน ไม่ใช่รัฐมนตรีต่างประเทศ หวัง อี้ อย่างที่เคยมีรายงานก่อนหน้านี้
และแน่นอนว่าสำหรับชาวไทยนั้น นายกเศรษฐากำลังจะเดินทางไปยังสหรัฐฯ ในเย็นวันนี้ (18 ก.ย.) แล้ว ประเด็นที่หลายฝ่ายจับตาว่าจะพูดถึงหรือไม่นั้น คือเรื่องของเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา ซึ่งเป็นที่กังวลในเรื่องของสิทธิมนุษยชนและการถดถอยของระบอบประชาธิปไตย ว่าไทยจะมีแนวทางอย่างไรบ้างหรือไม่
เรียบเรียงจาก Al Jazeera
ภาพจาก Ed JONES / AFP
"ผลสอบ ก.พ.66” รอบ Paper & Pencil ประกาศแล้ว เช็กรายชื่อได้ ที่นี่ !
ผลวอลเลย์บอลหญิงไทย สุดต้านแพ้ สหรัฐอเมริกา 0-3 นัดสองศึกคัดเลือกโอลิมปิก 2024
เปิดสถิติหวยออกย้อนหลัง 15 ปี งวด 1 ตุลาคม คำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด